เราคงเคยอ่านหรือเคยเห็นวิถีชีวิตของคนในยุคกลางของยุโรปผ่านเรื่องเล่าหรือภาพยนตร์กันมาบ้าง ซึ่งแสดงให้เห็นถึงสภาพบ้านเมืองที่มีแต่โคลนตมและนำ้ขังเชอะแฉะ รายล้อมไปด้วยบ้านเรือนโทรม ๆ ที่ตั้งอยู่อย่างแออัดยัดเยียด ไม่ได้มีความศรีวิไลเหมือนบ้านเมืองยุโรปที่เราคุ้นเคยในปัจจุบันนี้ สภาพสังคมยุโรปในยุคกลางยังอยู่ในความโกลาหนของภาวะสงครามที่สืบเนื่องมาจากการล่มสลายของจักรวรรดิโรมันตะวันตกที่ถูกรุกรานจากกลุ่มอารยชน และความไร้ความสามารถของชนชั้นปกครอง ส่งผลให้ประชาชนตกอยู่ภายใต้ความหวาดกลัว บ้านเมืองไม่มีความเป็นปึกแผ่นจนเกิดระบบการปกครองแบบฟิวดัล (Feudalism) ที่ชาวนาผู้เป็นเจ้าของที่ดินต้องยกที่ดินทำกินให้กับเจ้านายและลดสถานะตนเองเป็นผู้เช่าเพื่อแลกกับการได้รับความคุ้มครอง
Patrocinium ประเพณีแสวงหาผู้อุปการะคุณ
เพื่อให้ได้รับความคุ้มครองชาวนาต้องยกที่ดินให้กับผู้มีอำนาจหรือเจ้านายโดยตนลดสถานะเป็นเพียงผู้เช่าตลอดกาล และชาวนาก็จะได้ทำกินบนที่ดินของตนเองที่ได้ยกให้เจ้านายไปแล้วจากความเมตตาของเจ้านาย นอกจจากนี้ชาวนายังต้องทำงานรับใช้และเสียภาษีให้กับเจ้านายในอัตราที่ต่างจากประชาชนทั่วไปตามแต่เจ้านายจะเมตตา ซึ่งเป็นการตอบแทนผู้ที่อุปถัมภ์ตน ชาวโรมันการอุปการะลักษณะนี้ว่าเรียกว่า Patrocinium
การผสมผสานระหว่างประเพณีของชาวโรมันและอารยชนเยอรมัน
ในเวลาต่อมาประเพณีของชาวโรมัน Patrocinium ได้ผสมผสานเข้ากับประเพณีของอารยชนที่เรียกว่า Comitatus ซึ่งหมายถึงการที่ชายฉกรรจ์หรือนักรบจะถือคำสัตย์สาบานว่าจะจงรักภักดีต่อเจ้านายของตนแม้ในยามสงบหรือในยามสงคราม เพราะในยามที่บ้านเมืองระสำ่ระส่าย แต่กษัตริย์ไม่สามารถปกป้องคุ้มครองสวัสดิภาพของชาวเมืองได้ ชาวเมืองจึงหันไปพึ่งเหล่าบรรดาขุนนางที่พอจะมีอำนาจและมีกองกำลังทหาร โดยการยอมอยู่ในอาณัติตามแบบอย่างประเพณีชาวโรมันและชาวอารยชนเพื่อความอยู่รอด เมื่อถึงยามศึกก็ต้องออกรบในฐานะทหารในอาณัติ ซึ่งเมื่อสงครามสงบลงบรรดาทหารที่ได้ร่วมรบก็จะได้รับที่ดินทำกินภายใต้การสวามิภักดิ์ต่อเจ้านายผู้เป็นเจ้าของที่ดิน ซึ่งระบบดังกล่าวถูกเรียกว่า ฟิวดัล (Feudalism)
ฟิวดัล (Feudalism)
หมายถึงระบบศักดินาสวามิภักดิ์ เป็นระบบอุปถัมภ์แบบฝรั่ง ซึ่งเป็นลักษณะการกระจายอำนาจโดยอำนาจส่วนใหญ่จะมาอยู่ที่ขุนนางไม่ใช่กษัตริย์ที่รวมอำนาจเอาไว้ เป็นรูปแบบความสัมพันธ์แบบ เจ้านายกับข้ารับใช้ โดยเกี่ยวข้องกับ ที่ดิน ซึ่งเป็นการกระจายอำนาจแบบรวมศูนย์สู่โครงสร้างการปกครองแบบสามเหลี่ยมหรือพีระมิด โดยที่กษัตริย์มีอำนาจสูงสุด (ที่ดิน) ตามด้วยขุนนาง อัศวิน และชาวนาตามลำดับ
ระบบเศรษฐกิจแบบแมนเนอร์ (Manor)
หมายถึงการที่ขุนนาง (lord) ผู้เป็นเจ้าของที่ดิน แบ่งที่ดินให้กับขุนนางผู้น้อย (vassal)ไปปกครองเรียกว่าแมนเนอร์ ซึ่งแต่ละแมนเนอร์ก็จะประกอบไปด้วยที่ทำเกษตร โบสก์ และหมู่บ้าน ซึ่งคนในหมู่บ้านจะแบ่งออกเป็นเสรีชนและทาสซึ่งต้องจ่ายภาษีให้แก่ลอร์ดของแมนเนอร์นั้นๆ (vassal) เพียงแต่ทาสต้องทำงานรับใช้ลอร์ดแมนเนอร์ด้วย โดยในแต่ละแมนเนอร์จะมีเศรษฐกิจเป็นของตัวเอง ซึ่งส่วนใหญ่จะทำเกษตรเป็นหลักโดยเฉพาะการทำเกษตรแบบ Three fidld system ที่แบ่งออกเป็น 3 ส่วน โดยปีแรกทำการเพาะปลูกใน แปลงที่ 1และ 2 ส่วนแปลงที่ 3 จะเก็บไว้เลี้ยงสัตว์ และในปีถัดมาก็ทำแปลงที่ 3 และ 2 แล้วเว้นแปลงที่ 1 ไว้เลี้ยงสัตว์ ทำแบบนี้หมุนเวียนไปเรื่อย ๆ
สาเหตุการล่มสลายของระบบฟิวดัล
1. เกิดโรคระบาดกาฬโรคทั่วยุโรปในคริสต์ศตวรรษที่ 14 ทำให้แรงงานหายาก ทาสติดที่ดินมีโอกาสเป็นอิสระ โยกย้ายที่อยู่ ระบบแมเนอร์จึงสลายตัว
2. จากสงครามครูเสด และสงคราม 100 ปี ทำให้อัศวินเสียชีวิตมาก กษัตริย์ยึดอำนาจคืนจากขุนนางโดยมีพ่อค้า ชนชั้นกลางสนับสนุน
สรุป
ขอบคุณข้อมูลจาก :
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น