ผมเชื่อว่าวัยเด็กของหลาย ๆ คนคงมีเรื่องราวที่คล้ายกันอยู่อย่างหนึ่งนั่นคือ "การดูการ์ตูน" การตื่นมาดูการ์ตูนทุกเช้าเสาร์อาทิตย์ถือเป็นพิธีกรรมอันศักดิ์สิทธิ์ที่เด็กไทยอย่างเรา ๆ ต้องเคยผ่านประสบการณ์มาแทบทุกคน และในช่วงวัยเด็กของผมเองก็มีความทรงจำมากมายเกี่ยวกับกับการ์ตูน ช่วงเวลาเหล่านั้นได้กลายเป็นความทรงจำที่แสนอบอุ่นและชวนให้คิดถึงอยู่เสมอ แม้ว่าตอนนี้ผมจะอายุ 22 ปีแล้ว แต่ผมยังคงใช้เวลาว่างไปกับการหยิบหนังสือการ์ตูนสักเล่มขึ้นมาอ่าน หรือเปิดดูการ์ตูนสักเรื่องบนแพลตฟอร์มสตรีมมิ่ง และหนึ่งในการ์ตูนเรื่องโปรดของผมก็คือ "โดราเอมอน"
อารยธรรมโลกน่ารู้
วันอาทิตย์ที่ 3 ตุลาคม พ.ศ. 2564
โดราเอมอน ความทรงจำไม่เลือนหาย
วันจันทร์ที่ 13 กันยายน พ.ศ. 2564
ลักปิดลักเปิดโรคมรณะแห่งยุคการสำรวจ (Age of Discovery)
เชื่อว่าเพื่อนๆ หลายคนคงเคยได้ยินชื่อ โรคลักปิดลักเปิด (Scurvy) เพราะเมื่อตอนเรียนชั้นประถมเด็กๆ ทุกคนก็จะถูกสอนว่าให้กินผลไม้ที่มีวิตามินซีสูงๆ จะได้ไม่เป็นโรคลักปิดลักเปิด ซึ่งเป็นอาการที่เกิดจากการขาดวิตามินซี จนส่งผลให้เกิดอาการเลือดไหลออกง่าย เหงือกอักเสบ และอาการเลือดออกตามไรฟัน แต่ผมเชื่อว่าหลายๆ คนคงไม่ทราบว่าโรคที่เราคุ้นเคยนี้ เคยเป็นโรคที่คร่าชีวิตเหล่าบรรดานักเดินเรือในยุคแห่งการสำรวจ (Age of Discovery) สูงเป็นลำดับที่ 1 จากบรรดาโรคที่คร่าชีวิตกะลาสีแห่งยุคบุกเบิกทั้งหลาย ซึ่งสูงกว่ากาฬโรค (Plague) ที่เคยเป็นโรคระบาดใหญ่แห่งยุคกลางเสียอีก โดยประเมินกันว่าระหว่างศตวรรษที่ 16-18 มีกะลาสีเสียชีวิตเพราะโรคลักปิดลักเปิดกว่า 2 ล้านคน
ยุคแห่งการสำรวจ
ในยุคแห่งการสำรวจการเดินเรือถือเป็นเรื่องที่สำคัญที่ทำให้เกิดการความก้าวหน้าและการพัฒนาในด้านต่างๆจากการค้นพบสิ่งใหม่ๆ ด้วยการล่องเรือออกไปในมหาสมุทรอันกว้างใหญ่เพื่อแสวงหาดินแดนใหม่ วัฒนธรรมใหม่ โดยเฉพาะโอกาสทางการค้าและการทหาร นอกจากนี้การเดินเรือในยุคนั้นยังส่งผลให้เกิดการค้นพบมากมายที่พัฒนาองค์ความรู้ในวงศ์วิชาการอย่างมาก ทั้งด้านภูมิศาสตร์ ดาราศาสตร์ ชีววิทยา อุตุนิยมวิทยา และมนุษยวิทยา เพราะการเดินเรือในแต่ละครั้งก็มักจะมีบรรดานักวิชาการจากหลากหลายสาขาติดเรือไปด้วยเสมอ โดยครั้งที่สร้างความตื่นตะลึงให้กับชาวยุโรปมากที่สุดคือ การเดินเรือของคณะสำรวจจากอักฤษภายใต้การนำของกัปตันเจมส์ คุก เมื่อปี ค.ศ. 1768 จากการสำรวจในครั้งนั้นก็ได้เป็นแรงบรรดาลใจให้กับเหล่าบรรดานักวิชาการและนักวิทยาศาสตร์ในอีกหลายรุ่นต่อมา
การค้นพบวิธีรักษาโรคลักปิดลักเปิด
แม้ว่าการเดินเรือสำรวจจะส่งผลให้เกิดการพัฒนาองค์ความรู้ด้านวิทยาศาสตร์เป็นหลัก แต่ในวงศ์การแพทย์ก็พลอยได้ประโยชน์ไปด้วย เนื่องจากการเดินเรือในระยะทางไกลๆ ย่อมต้องมีโรคภัยไข้เจ็บเกิดขึ้นเป็นธรรมดา โดยเฉพาะโรคปริศนาที่คร่าชีวิตลูกเรือไปกว่าครึ่งในระหว่างการเดินทาง ซึ่งโรคที่ว่านั่นคือโรคลักปิดลักเปิดนั่นเอง ซึ่งโรคนี้ทำให้ผู้ป่วยเสื่องซึมอ่อนเพลีย เกิดอาการเลือดไหลผิดปกติตามเนื้อเยื่ออ่อน เหงือกอักเสบ เลือดออกตามไรฟัน และเมื่ออาการหนักเข้าก็จะมีไข้สูงและสูญเสียการควบคุมแขนขา กระทั่งเสียชีวิต ดังนั้นภาครัฐจึงได้มอบหมายให้มีการหาวิธีรักษาโรคนี้อย่างจริงจัง โดยในช่วงแรกวิทยาลัยการแพทย์ของอังกฤษได้เสนอให้ดื่มนำ้ส้มสายชูและกรดกำมะถันเพราะเชื่อว่าจะช่วยรักษาโรคนี้ได้ ซึ่งวิธีดังกล่าวก็ไม่ได้ผลแต่อย่างใด จนเมื่อปี ค.ศ. 1747 แพทย์ชาวอังกฤษ ชื่อว่า เจมส์ ลินด์ ได้ค้นพบวิธีรักษาจากการทดลองกับบรรดากะลาสี โดยการแยกออกเป็นหลายๆ กลุ่มแล้วให้การรักษาที่แตกต่างกันออกไปในแต่ละกลุ่ม ซึ่งก็พบว่ากลุ่มที่กินผลไม้พวกส้มและมะนาวอาการดีขึ้นและหายเป็นปกติในระยะเวลาไม่นาน แต่เขาก็ไม่รู้ว่าอะไรเป็นสาเหตุของโรคและการที่ให้ผู้ป่วยกินส้มและมะนาวช่วยรักษาโรคลักปิดลักเปิดได้อย่างไร แต่ปัจจุบันเราก็ทราบกันกันดีอยู่แล้วว่าสิ่งนั้นคือ วิตามินซี
จิ๊กซอร์ตัวสุดท้ายแห่งยุคจักรวรรดิ
การค้บพบวิธีการรักษาโรคลักปิดลักเปิดของเจมส์ ลินด์ไม่เป็นยอมรับกระทั่งกัปตันเจมส์ คุก ได้มีการออกคำสั่งให้มีการนำผักผลไม้ขึ้นเรือไปด้วยและสั่งให้ลูกเรือทุกคนกินผักผลไม้ให้มากๆ ซึ่งผลปรากฏว่าในการสำรวจครั้งนั้นเขาไม่สูญเสียลูกเรือเพราะโรคลักปิดลักเปิดเลยแม้แต่คนเดียว ซึ่งก็เป็นสิ่งที่ช่วยยืนยันว่าวิธีการรักษาที่เจมส์ ลินด์ค้นพบนั้นได้ผล และต่อมากองทัพเรือประเทศต่างๆ ในยุโรปก็ได้นำเอาสูตรการรักษานี้ไปใช้และรักษาชีวิตลูกเรือไว้ได้จำนวนมาก ซึ่งการค้นพบวิธีการรักษาโรคที่เคยคร่าชีวิตบรรดาลูกเรือไปกว่าครึ่งนี้ ก็ส่งผลให้การออกเดินเรือไม่ใช่สิ่งที่น่ากลัวอีกต่อไปและมันยังเปิดทางให้แก่ยุคจักรวรรดิอันรุ่งโรจ...และน่าเกรงขาม
วันอาทิตย์ที่ 22 สิงหาคม พ.ศ. 2564
ฟิวดัล(ระบบศิกดินาแบบตะวันตก)
เราคงเคยอ่านหรือเคยเห็นวิถีชีวิตของคนในยุคกลางของยุโรปผ่านเรื่องเล่าหรือภาพยนตร์กันมาบ้าง ซึ่งแสดงให้เห็นถึงสภาพบ้านเมืองที่มีแต่โคลนตมและนำ้ขังเชอะแฉะ รายล้อมไปด้วยบ้านเรือนโทรม ๆ ที่ตั้งอยู่อย่างแออัดยัดเยียด ไม่ได้มีความศรีวิไลเหมือนบ้านเมืองยุโรปที่เราคุ้นเคยในปัจจุบันนี้ สภาพสังคมยุโรปในยุคกลางยังอยู่ในความโกลาหนของภาวะสงครามที่สืบเนื่องมาจากการล่มสลายของจักรวรรดิโรมันตะวันตกที่ถูกรุกรานจากกลุ่มอารยชน และความไร้ความสามารถของชนชั้นปกครอง ส่งผลให้ประชาชนตกอยู่ภายใต้ความหวาดกลัว บ้านเมืองไม่มีความเป็นปึกแผ่นจนเกิดระบบการปกครองแบบฟิวดัล (Feudalism) ที่ชาวนาผู้เป็นเจ้าของที่ดินต้องยกที่ดินทำกินให้กับเจ้านายและลดสถานะตนเองเป็นผู้เช่าเพื่อแลกกับการได้รับความคุ้มครอง
Patrocinium ประเพณีแสวงหาผู้อุปการะคุณ
เพื่อให้ได้รับความคุ้มครองชาวนาต้องยกที่ดินให้กับผู้มีอำนาจหรือเจ้านายโดยตนลดสถานะเป็นเพียงผู้เช่าตลอดกาล และชาวนาก็จะได้ทำกินบนที่ดินของตนเองที่ได้ยกให้เจ้านายไปแล้วจากความเมตตาของเจ้านาย นอกจจากนี้ชาวนายังต้องทำงานรับใช้และเสียภาษีให้กับเจ้านายในอัตราที่ต่างจากประชาชนทั่วไปตามแต่เจ้านายจะเมตตา ซึ่งเป็นการตอบแทนผู้ที่อุปถัมภ์ตน ชาวโรมันการอุปการะลักษณะนี้ว่าเรียกว่า Patrocinium
การผสมผสานระหว่างประเพณีของชาวโรมันและอารยชนเยอรมัน
ในเวลาต่อมาประเพณีของชาวโรมัน Patrocinium ได้ผสมผสานเข้ากับประเพณีของอารยชนที่เรียกว่า Comitatus ซึ่งหมายถึงการที่ชายฉกรรจ์หรือนักรบจะถือคำสัตย์สาบานว่าจะจงรักภักดีต่อเจ้านายของตนแม้ในยามสงบหรือในยามสงคราม เพราะในยามที่บ้านเมืองระสำ่ระส่าย แต่กษัตริย์ไม่สามารถปกป้องคุ้มครองสวัสดิภาพของชาวเมืองได้ ชาวเมืองจึงหันไปพึ่งเหล่าบรรดาขุนนางที่พอจะมีอำนาจและมีกองกำลังทหาร โดยการยอมอยู่ในอาณัติตามแบบอย่างประเพณีชาวโรมันและชาวอารยชนเพื่อความอยู่รอด เมื่อถึงยามศึกก็ต้องออกรบในฐานะทหารในอาณัติ ซึ่งเมื่อสงครามสงบลงบรรดาทหารที่ได้ร่วมรบก็จะได้รับที่ดินทำกินภายใต้การสวามิภักดิ์ต่อเจ้านายผู้เป็นเจ้าของที่ดิน ซึ่งระบบดังกล่าวถูกเรียกว่า ฟิวดัล (Feudalism)
ฟิวดัล (Feudalism)
หมายถึงระบบศักดินาสวามิภักดิ์ เป็นระบบอุปถัมภ์แบบฝรั่ง ซึ่งเป็นลักษณะการกระจายอำนาจโดยอำนาจส่วนใหญ่จะมาอยู่ที่ขุนนางไม่ใช่กษัตริย์ที่รวมอำนาจเอาไว้ เป็นรูปแบบความสัมพันธ์แบบ เจ้านายกับข้ารับใช้ โดยเกี่ยวข้องกับ ที่ดิน ซึ่งเป็นการกระจายอำนาจแบบรวมศูนย์สู่โครงสร้างการปกครองแบบสามเหลี่ยมหรือพีระมิด โดยที่กษัตริย์มีอำนาจสูงสุด (ที่ดิน) ตามด้วยขุนนาง อัศวิน และชาวนาตามลำดับ
ระบบเศรษฐกิจแบบแมนเนอร์ (Manor)
หมายถึงการที่ขุนนาง (lord) ผู้เป็นเจ้าของที่ดิน แบ่งที่ดินให้กับขุนนางผู้น้อย (vassal)ไปปกครองเรียกว่าแมนเนอร์ ซึ่งแต่ละแมนเนอร์ก็จะประกอบไปด้วยที่ทำเกษตร โบสก์ และหมู่บ้าน ซึ่งคนในหมู่บ้านจะแบ่งออกเป็นเสรีชนและทาสซึ่งต้องจ่ายภาษีให้แก่ลอร์ดของแมนเนอร์นั้นๆ (vassal) เพียงแต่ทาสต้องทำงานรับใช้ลอร์ดแมนเนอร์ด้วย โดยในแต่ละแมนเนอร์จะมีเศรษฐกิจเป็นของตัวเอง ซึ่งส่วนใหญ่จะทำเกษตรเป็นหลักโดยเฉพาะการทำเกษตรแบบ Three fidld system ที่แบ่งออกเป็น 3 ส่วน โดยปีแรกทำการเพาะปลูกใน แปลงที่ 1และ 2 ส่วนแปลงที่ 3 จะเก็บไว้เลี้ยงสัตว์ และในปีถัดมาก็ทำแปลงที่ 3 และ 2 แล้วเว้นแปลงที่ 1 ไว้เลี้ยงสัตว์ ทำแบบนี้หมุนเวียนไปเรื่อย ๆ
สาเหตุการล่มสลายของระบบฟิวดัล
1. เกิดโรคระบาดกาฬโรคทั่วยุโรปในคริสต์ศตวรรษที่ 14 ทำให้แรงงานหายาก ทาสติดที่ดินมีโอกาสเป็นอิสระ โยกย้ายที่อยู่ ระบบแมเนอร์จึงสลายตัว
2. จากสงครามครูเสด และสงคราม 100 ปี ทำให้อัศวินเสียชีวิตมาก กษัตริย์ยึดอำนาจคืนจากขุนนางโดยมีพ่อค้า ชนชั้นกลางสนับสนุน
สรุป
ขอบคุณข้อมูลจาก :
วันอาทิตย์ที่ 1 สิงหาคม พ.ศ. 2564
วันจันทร์ที่ 19 กรกฎาคม พ.ศ. 2564
แนะนำบล็อก
บล็อกนี้ผมตั้งใจสร้างขึ้นเพื่อนำเสนอเรื่องราวที่น่าสนใจเกี่ยวกับประวัติศาสตร์โลก โดยผมตั้งใจเรียบเรียงโดยภาษาที่เข้าใจง่ายและไม่เน้นความเป็นทางการจนเกินไป หวังว่าท่านผู้อ่านจะเพลิดเพลินกับบทความของผมนะครับ💨
โดราเอมอน ความทรงจำไม่เลือนหาย
ผมเชื่อว่าวัยเด็กของหลาย ๆ คนคงมีเรื่องราวที่คล้ายกันอยู่อย่างหนึ่งนั่นคือ "การดูการ์ตูน" การตื่นมาดูการ์ตูนทุกเช้าเสาร์...

-
ผมเชื่อว่าวัยเด็กของหลาย ๆ คนคงมีเรื่องราวที่คล้ายกันอยู่อย่างหนึ่งนั่นคือ "การดูการ์ตูน" การตื่นมาดูการ์ตูนทุกเช้าเสาร์...
-
บล็อกนี้ผมตั้งใจสร้างขึ้นเพื่อนำเสนอเรื่องราวที่น่าสนใจเกี่ยวกับประวัติศาสตร์โลก โดยผมตั้งใจเรียบเรียงโดยภาษาที่เข้าใจง่ายและไม่เน้นความเป็น...
-
เชื่อว่าเพื่อนๆ หลายคนคงเคยได้ยินชื่อ โรคลักปิดลักเปิด (Scurvy) เพราะเมื่อตอนเรียนชั้นประถมเด็กๆ ทุกคนก็จะถูกสอนว่าให้กินผลไม้ที่มีวิตามิน...