วันจันทร์ที่ 13 กันยายน พ.ศ. 2564

ลักปิดลักเปิดโรคมรณะแห่งยุคการสำรวจ (Age of Discovery)

เชื่อว่าเพื่อนๆ หลายคนคงเคยได้ยินชื่อ โรคลักปิดลักเปิด (Scurvy) เพราะเมื่อตอนเรียนชั้นประถมเด็กๆ ทุกคนก็จะถูกสอนว่าให้กินผลไม้ที่มีวิตามินซีสูงๆ จะได้ไม่เป็นโรคลักปิดลักเปิด ซึ่งเป็นอาการที่เกิดจากการขาดวิตามินซี จนส่งผลให้เกิดอาการเลือดไหลออกง่าย เหงือกอักเสบ และอาการเลือดออกตามไรฟัน แต่ผมเชื่อว่าหลายๆ คนคงไม่ทราบว่าโรคที่เราคุ้นเคยนี้ เคยเป็นโรคที่คร่าชีวิตเหล่าบรรดานักเดินเรือในยุคแห่งการสำรวจ (Age of Discovery) สูงเป็นลำดับที่ 1 จากบรรดาโรคที่คร่าชีวิตกะลาสีแห่งยุคบุกเบิกทั้งหลาย ซึ่งสูงกว่ากาฬโรค (Plague) ที่เคยเป็นโรคระบาดใหญ่แห่งยุคกลางเสียอีก โดยประเมินกันว่าระหว่างศตวรรษที่ 16-18 มีกะลาสีเสียชีวิตเพราะโรคลักปิดลักเปิดกว่า 2 ล้านคน

จาก : http://mitsdecisions.com/2016/09/


ยุคแห่งการสำรวจ 

ในยุคแห่งการสำรวจการเดินเรือถือเป็นเรื่องที่สำคัญที่ทำให้เกิดการความก้าวหน้าและการพัฒนาในด้านต่างๆจากการค้นพบสิ่งใหม่ๆ ด้วยการล่องเรือออกไปในมหาสมุทรอันกว้างใหญ่เพื่อแสวงหาดินแดนใหม่ วัฒนธรรมใหม่ โดยเฉพาะโอกาสทางการค้าและการทหาร นอกจากนี้การเดินเรือในยุคนั้นยังส่งผลให้เกิดการค้นพบมากมายที่พัฒนาองค์ความรู้ในวงศ์วิชาการอย่างมาก ทั้งด้านภูมิศาสตร์ ดาราศาสตร์ ชีววิทยา  อุตุนิยมวิทยา และมนุษยวิทยา เพราะการเดินเรือในแต่ละครั้งก็มักจะมีบรรดานักวิชาการจากหลากหลายสาขาติดเรือไปด้วยเสมอ โดยครั้งที่สร้างความตื่นตะลึงให้กับชาวยุโรปมากที่สุดคือ การเดินเรือของคณะสำรวจจากอักฤษภายใต้การนำของกัปตันเจมส์ คุก เมื่อปี ค.ศ. 1768 จากการสำรวจในครั้งนั้นก็ได้เป็นแรงบรรดาลใจให้กับเหล่าบรรดานักวิชาการและนักวิทยาศาสตร์ในอีกหลายรุ่นต่อมา

กัปตันเจมส์ คุก
จาก : https://th.garynevillegasm.com/obrazovanie/75696-dzheyms-kuk-kratkaya-biografiya-i-ekspedicii.html


การค้นพบวิธีรักษาโรคลักปิดลักเปิด

แม้ว่าการเดินเรือสำรวจจะส่งผลให้เกิดการพัฒนาองค์ความรู้ด้านวิทยาศาสตร์เป็นหลัก แต่ในวงศ์การแพทย์ก็พลอยได้ประโยชน์ไปด้วย เนื่องจากการเดินเรือในระยะทางไกลๆ ย่อมต้องมีโรคภัยไข้เจ็บเกิดขึ้นเป็นธรรมดา โดยเฉพาะโรคปริศนาที่คร่าชีวิตลูกเรือไปกว่าครึ่งในระหว่างการเดินทาง ซึ่งโรคที่ว่านั่นคือโรคลักปิดลักเปิดนั่นเอง ซึ่งโรคนี้ทำให้ผู้ป่วยเสื่องซึมอ่อนเพลีย เกิดอาการเลือดไหลผิดปกติตามเนื้อเยื่ออ่อน เหงือกอักเสบ เลือดออกตามไรฟัน และเมื่ออาการหนักเข้าก็จะมีไข้สูงและสูญเสียการควบคุมแขนขา กระทั่งเสียชีวิต ดังนั้นภาครัฐจึงได้มอบหมายให้มีการหาวิธีรักษาโรคนี้อย่างจริงจัง โดยในช่วงแรกวิทยาลัยการแพทย์ของอังกฤษได้เสนอให้ดื่มนำ้ส้มสายชูและกรดกำมะถันเพราะเชื่อว่าจะช่วยรักษาโรคนี้ได้ ซึ่งวิธีดังกล่าวก็ไม่ได้ผลแต่อย่างใด จนเมื่อปี ค.ศ. 1747 แพทย์ชาวอังกฤษ ชื่อว่า เจมส์ ลินด์ ได้ค้นพบวิธีรักษาจากการทดลองกับบรรดากะลาสี โดยการแยกออกเป็นหลายๆ กลุ่มแล้วให้การรักษาที่แตกต่างกันออกไปในแต่ละกลุ่ม ซึ่งก็พบว่ากลุ่มที่กินผลไม้พวกส้มและมะนาวอาการดีขึ้นและหายเป็นปกติในระยะเวลาไม่นาน แต่เขาก็ไม่รู้ว่าอะไรเป็นสาเหตุของโรคและการที่ให้ผู้ป่วยกินส้มและมะนาวช่วยรักษาโรคลักปิดลักเปิดได้อย่างไร แต่ปัจจุบันเราก็ทราบกันกันดีอยู่แล้วว่าสิ่งนั้นคือ วิตามินซี 

เจมส์ ลินด์
จาก : https://th.testingtreatments.org/book/why-are-fair-tests-of-treatments-needed/new-but-is-it-better/

จิ๊กซอร์ตัวสุดท้ายแห่งยุคจักรวรรดิ

การค้บพบวิธีการรักษาโรคลักปิดลักเปิดของเจมส์ ลินด์ไม่เป็นยอมรับกระทั่งกัปตันเจมส์ คุก ได้มีการออกคำสั่งให้มีการนำผักผลไม้ขึ้นเรือไปด้วยและสั่งให้ลูกเรือทุกคนกินผักผลไม้ให้มากๆ ซึ่งผลปรากฏว่าในการสำรวจครั้งนั้นเขาไม่สูญเสียลูกเรือเพราะโรคลักปิดลักเปิดเลยแม้แต่คนเดียว ซึ่งก็เป็นสิ่งที่ช่วยยืนยันว่าวิธีการรักษาที่เจมส์ ลินด์ค้นพบนั้นได้ผล และต่อมากองทัพเรือประเทศต่างๆ ในยุโรปก็ได้นำเอาสูตรการรักษานี้ไปใช้และรักษาชีวิตลูกเรือไว้ได้จำนวนมาก ซึ่งการค้นพบวิธีการรักษาโรคที่เคยคร่าชีวิตบรรดาลูกเรือไปกว่าครึ่งนี้ ก็ส่งผลให้การออกเดินเรือไม่ใช่สิ่งที่น่ากลัวอีกต่อไปและมันยังเปิดทางให้แก่ยุคจักรวรรดิอันรุ่งโรจ...และน่าเกรงขาม

จาก : https://writer.dek-d.com/dek-d/writer/view.php?id=1675800

สรุป
แม้ว่าในอดีตโรคลักปิดลักเปิดจะเคยเป็นโรคที่น่าสพรึงกลัว แต่ด้วยความรู้ด้านวิทยาศาสตร์และการแพทย์ก็ได้ช่วยไขกระจ่างให้โรคนี้กลายเป็นโรคที่ไม่น่ากลัวอีกต่อไป แต่ในขณะเดียวกันก็เร่งให้เกิดยุคจักรวรรดิ ยุคที่ฝ่ายที่เรียกตัวเองว่าผู้เจริญ ได้สร้างความสูญเสียมากกว่าโรคนี้หลายเท่านัก และนั่นตอกยำ้ว่า ไม่ว่าโรคภัยไข้เจ็บจะน่ากลัวและคร่าชีวิตผู้คนไปขนาดไหน ก็เทียบไม่ได้กับความสูญเสียที่เกิดจากการที่มนุษย์หำ้หั่นกันเอง ทั้งชีวิต ทั้งอารยธรรม ทั้งวิญญาณ...


ขอบคุณข้อมูลจาก :

กรมแพทย์ทหารเรือ. 2556. ประวัติความเป็นมา. ค้นเมื่อ 14 สิงหาคม 2564, จาก https://www2.nmd.go.th/maritime/index.php?option=com_content&view=article&id=109&Itemid=881

ยูวัล โนอาห์ แฮรี. 2554. เซเปียนส์ประวัติย่อมนุษยชาติ. กรุงเทพฯ: ยิปซี กรุ๊ป.

อธิเจต มงคลโสฬศ. 2561. ย้อนอดีต “น้ำส้มสายชู – กรดกำมะถัน” รักษา “ลักปิดลักเปิด”!? เหตุใดจึงต้องสงสัยการรักษา. ค้นเมื่อ 14 สิงหาคม 2564, จาก https://www.hitap.net/172521





โดราเอมอน ความทรงจำไม่เลือนหาย

          ผมเชื่อว่าวัยเด็กของหลาย ๆ คนคงมีเรื่องราวที่คล้ายกันอยู่อย่างหนึ่งนั่นคือ "การดูการ์ตูน" การตื่นมาดูการ์ตูนทุกเช้าเสาร์...